สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัย, ตลาดที่อยู่อาศัยภูมิภาค
Loading

สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดภูมิภาค ไตรมาส 4 ปี 2561 และแนวโน้มปี 2562

วันที่ : 20 กุมภาพันธ์ 2562
                 ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2561 สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดภูมิภาค ด้านอุปสงค์มีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2560 โดยเป็นการปรับตัวลดลงของหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย แต่ในส่วนของมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในไตรมาสนี้มีการโอนเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2558 ที่มีมาตรการลดหย่อนภาษีและค่าธรรมเนียมการโอน ส่วนด้านอุปทานปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2560  โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดท่องเที่ยวที่สำคัญ รวมถึงพื้นที่จังหวัด EEC โดยเฉพาะในจังหวัดชลบุรี และระยอง เป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นของการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน และการใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัย เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2560 
                  สำหรับภาพรวมในปี 2561 สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทานปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2560 โดยเป็นผลจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ โดยเฉพาะการขยายตัวของราคาพืชผลทางการเกษตรซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายได้หลักของประชาชนจังหวัดในภูมิภาค 
                  สำหรับแนวโน้มในปี 2562 ผลกระทบจากมาตรการควบคุมสินเชื่อคาดว่าจะส่งผลให้ตลาดที่อยู่อาศัยในช่วงไตรมาส 2 ถึง ไตรมาส 4 ของปี 2562 โดยชะลอตัวลงในด้านอุปสงค์ คาดว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจะลดลงทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่า เมื่อเทียบกับปี 2561 ส่วนในด้านอุปทานแม้ว่าจะยังคงขยายตัว แต่เป็นการขยายตัวเฉพาะบางพื้นที่ ซึ่งคาดว่าอุปทานในภาคตะวันออกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากมาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ EEC ของภาครัฐ

                  ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2561 มีโครงการที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินจากกรมที่ดินจำนวน 104 โครงการ 9,176 หน่วย เพิ่มขึ้นทั้งจำนวนโครงการและจำนวนหน่วย เมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปี 2560 โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 และ ร้อยละ 4.6 ตามลำดับ (ดูแผนภูมิที่ 1) 
เมื่อจำแนกในแต่ละภูมิภาค พบว่าการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคตะวันออก มากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56.1 ของจำนวนการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั้งหมด ซึ่งมีจำนวน 53 โครงการ มีจำนวนหน่วย 5,144 หน่วย เพิ่มขึ้นทั้งจำนวนโครงการ และจำนวนหน่วย ร้อยละ 47.2 และร้อยละ 50.9  เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เป็นผลมาจาก 3 จังหวัดในกลุ่มของ EEC (จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา) รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคใต้




อ่านต่อฉบับเต็ม .... Download PDF

สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่