สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดภูมิภาค ไตรมาส 2 ปี 2562 และครึ่งแรกปี2562
วันที่ : 11 กันยายน 2562
ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2562 และครึ่งแรก ปี 2562 สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดภูมิภาค 71 จังหวัด (ไม่นับรวมกรุงเทพฯ - ปริมณฑล) ในด้านอุปสงค์ปรับตัวลดลง จากผลกระทบของมาตรการ Macro Prudential ของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยส่วนหนึ่งไม่สามารถขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยและโอนกรรมสิทธิ์ได้ ส่วนในด้านอุปทานการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินมีการปรับตัวลดลง แต่การออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัย มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดท่องเที่ยวที่สำคัญ รวมถึงพื้นที่จังหวัด EEC ในจังหวัดชลบุรี และระยอง ทั้งนี้ เป็นการเพิ่มขึ้นของที่อยู่อาศัยที่ประชาชนปลูกสร้างเอง
1. สถานการณ์ด้านอุปทานที่อยู่อาศัย
1.1 การออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน
ในไตรมาส 2 ปี 2562 จังหวัดภูมิภาค 71 จังหวัด (ไม่นับรวมกรุงเทพฯ – ปริมณฑล) มีโครงการที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินจากกรมที่ดินจำนวน 94 โครงการ 7,406 หน่วย จำนวนโครงการทรงตัว แต่จำนวนหน่วยลดลงร้อยละ 29.6 เมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 ซึ่งมีจำนวน 94 โครงการ 10,527 หน่วย เป็นการลดลงของจำนวนหน่วยในทุกภาค ยกเว้นภาคใต้และตะวันตก (ดูตารางที่ 1 - 2)
เมื่อจำแนกในแต่ละภูมิภาค พบว่าการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคตะวันออก มากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38.3 ของจำนวนหน่วยที่อยู่อาศัยที่ได้รับใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั้งหมด รองลงมาเป็น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันตก ตามลำดับ (ดูแผนภูมิที่ 1)
อ่านต่อฉบับเต็ม .... Download PDF
1. สถานการณ์ด้านอุปทานที่อยู่อาศัย
1.1 การออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน
ในไตรมาส 2 ปี 2562 จังหวัดภูมิภาค 71 จังหวัด (ไม่นับรวมกรุงเทพฯ – ปริมณฑล) มีโครงการที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินจากกรมที่ดินจำนวน 94 โครงการ 7,406 หน่วย จำนวนโครงการทรงตัว แต่จำนวนหน่วยลดลงร้อยละ 29.6 เมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 ซึ่งมีจำนวน 94 โครงการ 10,527 หน่วย เป็นการลดลงของจำนวนหน่วยในทุกภาค ยกเว้นภาคใต้และตะวันตก (ดูตารางที่ 1 - 2)
เมื่อจำแนกในแต่ละภูมิภาค พบว่าการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคตะวันออก มากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38.3 ของจำนวนหน่วยที่อยู่อาศัยที่ได้รับใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั้งหมด รองลงมาเป็น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันตก ตามลำดับ (ดูแผนภูมิที่ 1)
อ่านต่อฉบับเต็ม .... Download PDF
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่
สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ ภูมิภาค อื่นๆ